คนไข้ Stroke ใช้ไม้เท้าแบบไหน เลือกให้เหมาะเพื่อการฟื้นตัวที่ดี
- lalidaskc
- 17 มี.ค.
- ยาว 1 นาที
การฟื้นตัวหลังจากรักษาโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยเวลาและการดูแลที่เหมาะสม หนึ่งในอุปกรณ์ที่ช่วยให้คนไข้กลับมาเดินได้อย่างมั่นใจและปลอดภัยคือ "ไม้เท้า" แต่การเลือกไม้เท้าที่เหมาะสมไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องคำนึงถึงสภาพร่างกายและระดับความสามารถในการเคลื่อนไหวของแต่ละคน หากเลือกไม้เท้าได้ถูกต้อง นอกจากจะช่วยพยุงร่างกายแล้วยังช่วยลดความเสี่ยงจากการหกล้ม และส่งเสริมให้คนไข้สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้นอีกด้วย
ทำไมคนไข้ Stroke ต้องใช้ไม้เท้าในการเดิน
คนไข้โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) มักมีปัญหาการทรงตัว กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรืออัมพฤกษ์อัมพาตบางส่วน ทำให้การเดินขาดความมั่นคงและเสี่ยงต่อการหกล้ม การใช้ไม้เท้าช่วยพยุงเดินจึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัย ลดภาระของขาและสะโพก อีกทั้งยังช่วยฟื้นฟูความสามารถในการเคลื่อนไหว
วิธีเลือกไม้เท้าที่เหมาะกับคนไข้ Stroke
ไม้เท้ามีหลายประเภท และการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับคนไข้ Stroke เป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยพิจารณาจากระดับความสามารถในการเดินและการทรงตัว และอาการอ่อนแรงของคนไข้ย ดังนี้
1. ไม้เท้าแบบเดี่ยว (Single-Point Cane)
เหมาะกับ: คนไข้ที่สามารถเดินได้เอง แต่ยังมีอาการอ่อนแรงเล็กน้อยและต้องการพยุงเพื่อเพิ่มความมั่นคง และอ่อนแรงครึ่งซีก
ข้อดี: น้ำหนักเบา ใช้งานง่าย พกพาสะดวก
ข้อควรระวัง: ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาทรงตัวรุนแรง
2. ไม้เท้า 3 ขา หรือ 4 ขา (Tripod & Quadrupod Cane)
เหมาะกับ: คนไข้ที่มีปัญหาทรงตัวปานกลางถึงมาก และต้องการฐานที่มั่นคงกว่าปกติ และอ่อนแรงครึ่งซีก
ข้อดี: ฐานกว้าง ช่วยรองรับน้ำหนักได้ดี ลดความเสี่ยงต่อการหกล้ม
ข้อควรระวัง: อาจมีน้ำหนักมากกว่าปกติ ต้องฝึกใช้งานให้คล่องตัว
3. ไม้เท้าแบบมีด้ามจับรูปตัว T หรือ Offset Handle Cane
เหมาะกับ: คนไข้ที่ต้องการกระจายน้ำหนักขณะเดิน เพื่อให้เดินได้สมดุลมากขึ้น และอ่อนแรงครึ่งซีก
ข้อดี: ลดแรงกดที่ข้อมือ ช่วยให้เดินได้สะดวก
ข้อควรระวัง: ต้องเลือกขนาดที่เหมาะสมกับสรีระของคนไข้
4. ไม้เท้าพับได้ หรือปรับระดับได้
เหมาะกับ: คนไข้ที่เดินได้เองในบางสถานการณ์ แต่ต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม และอ่อนแรงครึ่งซีก
ข้อดี: สามารถปรับระดับความสูงให้พอดีกับผู้ใช้ และพับเก็บสะดวก
ข้อควรระวัง: อาจไม่แข็งแรงเท่ากับไม้เท้าประเภทอื่น
5. ไม้เท้าแบบคอก (Walker)
เหมาะกับ: อ่อนแรงทั้งสองข้างเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน และสามารถมีแรงกำที่มือได้สุดช่วงการเคลื่อนไหว
ข้อดี: สามารถปรับระดับความสูงให้พอดีกับผู้ใช้, พับเก็บสะดวก และมีความมั่นคงสูง
ข้อควรระวัง: อาจกับคนไข้ที่อ่อนแรงครึ่งซีก หรือไม่มีแรงมือ
ระดับการอ่อนแรง : อ่อนแรงทั้งสองข้างเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน

วิธีใช้ไม้เท้าให้ถูกต้อง ลดเสี่ยงหกล้ม
จับไม้เท้าด้วยมือข้างที่แข็งแรง เพื่อช่วยพยุงข้างที่อ่อนแรง
เดินโดยให้ไม้เท้าสัมผัสพื้นก่อนขา เพื่อช่วยกระจายน้ำหนัก
เลือกไม้เท้าที่มีความสูงพอดี โดยเมื่อจับไม้เท้า ข้อศอกควรงอประมาณ 15-30 องศา
ฝึกเดินในพื้นที่ปลอดภัยก่อนใช้งานจริง เช่น บนพื้นเรียบหรือลาดเอียงเล็กน้อย
สรุป
ไม้เท้าสำหรับคนไข้ Stroke มีหลายประเภท การเลือกให้เหมาะสมกับระดับอาการจะช่วยให้การเดินปลอดภัยขึ้น และลดความเสี่ยงต่อการหกล้ม หากไม่แน่ใจว่าควรเลือกแบบไหน ควรปรึกษานักกายภาพบำบัดหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อคำแนะนำที่เหมาะสมที่สุด
"ศูนย์เซ็นจูรี่แคร์ พร้อมดูแลด้วยจุดมุ่งหมายให้ผู้เข้ารับบริการกลับไปใช้ชีวิตให้ใกล้เคียงปกติให้ได้มากที่สุด"

Century Care Center ยินดีให้คำปรึกษา
โทร : 095-713-2222
Line : @ccnh
Facebook : www.facebook.com/CenturyCareCenter
Instagram : www.instagram.com/centurycare.center
Tiktok : www.tiktok.com/@centurycarecenter
Comments