top of page

Palliative Care การดูแลผู้สูงอายุ หรือผู้มีภาวะพึ่งพิง หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

อัปเดตเมื่อ 28 พ.ย. 2565


Palliative Care การดูแลผู้สูงอายุ หรือผู้มีภาวะพึ่งพิง หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ สามารถดูแลที่ศูนย์รับดูแลผู้ป่วยสูงอายุได้หรือไม่ อย่างไร?


การดูแลผู้ป่วยสูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จำเป็นต้องมีแนวทางในการดูแลที่ให้ความสำคัญกับการดูแลแบบประคับประคองด้านร่างกาย จิตใจอารมณ์ ด้านสังคม และด้านจิตวิญญาณของทั้งผู้ป่วย รวมไปถึงครอบครัวที่เรียกกว่า Palliative Care โดยเฉพาะกับผู้ป่วยระยะสุดท้ายหรือผู้สูงอายุที่มีโรครุมเร้า จนได้รับการวินิจฉัยว่าไม่มีวันรักษาให้หายขาดได้ อาจมีเวลาในการใช้ชีวิตเหลือไม่มากนัก แนวทางในการดูแลจากครอบครัวนั้นจะสามารถเลือกวิธีดูแลเองจากที่บ้านหรือดูแลที่ศูนย์ดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง

ปัจจุบัน มีศูนย์รับดูแลสูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง มีการดูแลโดยแพทย์ พยาบาล นักกำหนดอาหาร นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด และผู้ให้บริการที่ได้รับการรับรองและมีประสบการณ์ในการรับมือกับปัญหาเฉพาะต่างๆในผู้ป่วยประคับประคอง ได้แก่ อาการเหนื่อยต้องใช้ออกซิเจน ต้องดูดเสมหะ ให้อาหารทางสายยาง การดูแลให้ยาแก้ปวด เป็นต้น ซึ่งศูนย์ดูแลนี้เองที่สามารถช่วยแบ่งเบาภาระและคลายความกังวลของครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิด รวมถึงตัวผู้ป่วยได้ โดยศูนย์ดูแลเหล่านี้มักเพียบพร้อมไปด้วยอุปกรณ์เครื่องมือที่จำเป็นในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง

และอาหารที่เหมาะสมสำหรับโรคประจำตัวของผู้ป่วยแต่ละราย ดูแลโดยแพทย์ และพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์จึงทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่ม บรรเทาความทุกข์ทรมานกับอาการของโรคต่างๆ และได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที อย่างไรก็ตามการตัดสินใจว่าจะดูแลผู้ป่วยที่บ้านหรือศูนย์ดูแล มักมีปัจจัยในการตัดสินใจ ดังต่อไปนี้


อาการของผู้ป่วยที่ต้องดูแลแบบประคับประคอง ที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

อาการของผู้ป่วยหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงที่ต้องนำมาเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกวิธีการดูแล เพราะอาการของโรคบ่งบอกถึงระดับของการพึ่งพิงที่แตกต่างกัน เช่น ผู้ที่ไม่สามารถขับถ่ายเองได้ เป็นผู้ป่วยติดเตียงที่ต้องดูแลการขับถ่าย หรือผู้ป่วยที่จำเป็นต้องให้อาหารทางสายยาง ต้องระมัดระวังเรื่องความสะอาด ปลอดเชื้อ จำเป็นต้องมีการดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ป่วยที่ต้องพึ่งอุปกรณ์ต่างๆ เช่นเครื่องช่วยหายใจ การให้ออกซิเจน บางกรณีจำเป็นต้องอาศัยความเชี่ยวชาญทางการพยาบาล ในกรณีเกิดเสมหะในลำคอ ต้องดูดเสมหะออกอย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้กระทบกับโรคจนทำให้ร่างกายทรุดหนัก หรือการช่วยเหลืออื่นๆที่ จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ทางการพยาบาลบางอย่าง ครอบครัวสามารถฝึกฝนได้ แต่ต้องอาศัยแรงกายแรงใจ รวมถึงเวลาที่ต้องเสียสละ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะพึ่งพิงมาก อาจเกิดความทุกข์ใจ รู้สึกกังวลในการดูแลผู้ป่วย ส่งผลต่อสภาพจิตใจ ฉะนั้นการเลือกดูแลจากศูนย์ดูแลที่สามารถดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองได้ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับครอบครัว


การตัดสินใจของผู้ป่วยในระยะประคับประคองอาการ

เมื่อถึงวาระที่ผู้ป่วยไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และมีเวลาใช้ชีวิตไม่มาก ครอบครัวควรแจ้งความจริงนี้อย่างซื่อตรง อาจให้แพทย์ช่วยในการอธิบาย เพื่อให้ผู้ป่วยได้เตรียมใจ และร่วมตัดสินใจกับครอบครัวว่าจะดูแลแบบประคับประคองที่บ้านหรือที่ศูนย์ดูแลผู้ป่วย เพราะหากปิดบังความจริง อาจทำให้เกิดความลำบากใจ ทำให้ผู้ป่วยไม่ระวังตัวและส่งผลให้มีอาการทรุดลง เกิดความกังวล และทำให้ยากในการสื่อสารสภาพอาการและความต้องการต่างๆระหว่างผู้ป่วยและผู้ดูแล การบอกความจริงและร่วมกันตัดสินใจจะช่วยให้การดูแลแบบประคับประคองเป็นไปอย่างราบรื่น ทำให้ผู้ป่วยได้เตรียมใจ เตรียมความพร้อมในการจากไปอย่างมีศักดิ์ศรี เกิดความสุขใจที่ได้ตัดสินใจเองในช่วงชีวิตสุดท้าย


ข้อตกลงในการวางแผนล่วงหน้าในวาระสุดท้าย ผู้ป่วยและครอบครัวควรร่วมกันตัดสินใจว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ร่างกายทรุดลงอย่างหนัก ใกล้วาระสุดท้ายของชีวิต ต้องอาศัยเทคโนโลยีทางการแพทย์ช่วยยื้อชีวิตหรือไม่ เช่น การรักษาในห้อง ICU การใช้อุปกรณ์ปั๊มหัวใจ หรือสอดท่อช่วยหายใจต่างๆ ซึ่งหากตัดสินใจร่วมกับครอบครัวแล้วว่าจะยื้อชีวิตไว้ให้นานขึ้น ควรเลือกการดูแลอย่างใกล้ชิดจากทีมแพทย์ในโรงพยาบาล ฉะนั้นการเลือกเข้ารับบริการที่ศูนย์ดูแลผู้ป่วยโดยมีแพทย์และพยาบาลวิชาชีพดูแล พร้อมช่วยเหลือเมื่อผู้ป่วยเมื่อมีอาการเปลี่ยนแปลงได้ทันท่วงทีก่อนส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาล จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรจะเลือก การต่อเวลาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยบางรายที่อาจจะต้องการทำความปรารถนาครั้งสุดท้าย หรือขจัดสิ่งค้างคาใจก่อนที่จะจากไปได้อย่างสงบ


หากผู้ป่วยต้องการอยู่บ้านมากกว่าที่ศูนย์ดูแลผู้ป่วย แต่ครอบครัวไม่เห็นด้วย ควรทำอย่างไร

อย่างไรก็ตาม มักเกิดเหตุการณ์ที่ผู้ป่วยต้องการอยู่บ้านมากกว่าเข้ารับบริการที่ศูนย์ดูแล และมักทำให้ครอบครัวเป็นกังวล เพราะไม่มั่นใจว่าจะสามารถดูแลผู้ป่วยได้ดีเท่าแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ และควบคุมเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆได้ยาก ทางออกที่ดีคือลองพาผู้ป้วยมาเยี่ยมชมศูนย์ดูแล ได้มีโอกาสพูดคุยกับแพทย์และพยาบาลผู้ดูแล เข้ารับการปรึกษาเป็นระยะเพื่อคลายความกังวล ยกตัวอย่างเช่นศูนย์เซ็นจูรี่แคร์ ที่มีสถานที่ปลอดโปร่ง ปลอดมลพิษ มีกิจกรรมสันทนาการให้เลือกทำตามความเหมาะสม มีห้องพักให้เลือกหลากหลาย พร้อมแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ และผู้ให้บริการที่ได้รับการอบรมการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง เมื่อผู้ป่วยได้เห็นสถานที่ที่น่าอยู่มีมาตรฐาน การบริการที่อบอุ่นเหมือนคนในครอบครัว และสามารถตอบคำถามที่ผู้ป่วยกังวลหรือสังสัยได้ทันที ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจมากขึ้นและคลายความวิตกกังวลลงมักจะให้ความร่วมมือในการเข้ารับการดูแลได้ง่ายขึ้น



สรุป

การดูแลผู้ป่วยสูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงระยะประคับประคอง ที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ สามารถเลือกดูแลที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงได้ แต่ควรได้รับความยินยอมทั้งผู้ป่วยและคนในครอบครัว เพื่อประโยชน์สูงสุดในการดูแลแบบประคับประคอง และเพื่อความสงบสุขของผู้ป่วยในบั้นปลายของชีวิต


 

"คลินิกกายภาพเซ็นจูรี่แคร์ พร้อมดูแลด้วยจุดมุ่งหมายให้ผู้เข้ารับบริการกลับไปใช้ชีวิตให้ใกล้เคียงปกติให้ได้มากที่สุด"

Century Care Center ยินดีให้คำปรึกษา

โทร : 095-713-2222

การเดินทาง : https://goo.gl/maps/hb2a7MTEPeEaDTpTA

Comments


bottom of page