top of page

Sleep Test | ตรวจเช็กการนอนหลับ


Sleep Test หรือ การตรวจเช็กการนอนหลับ คือการตรวจสำคัญที่ใช้เพื่อวิเคราะห์การทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกายระหว่างการนอนหลับ เช่น ระบบการหายใจ ระดับออกซิเจนในเลือด การทำงานของคลื่นไฟฟ้าสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และกล้ามเนื้อ รวมถึง ศึกษาพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นขณะหลับด้วย

การนอนหลับอย่างมีคุณภาพมีความสำคัญต่อสุขภาพ การที่ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเพียงพอทำให้เซลล์และอวัยวะต่างๆในร่างกายได้ฟื้นฟูอย่างเต็มที่ ทำให้รู้สึกสดชื่นและพร้อมที่จะดำเนินชีวิตในวันต่อไป แต่กลับมีคนทุกเพศ ทุกวัยจำนวนมากที่มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับซึ่งเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ


ประโยชน์ของการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)

เป็นการตรวจที่เป็นมาตรฐาน (Standard investigation) ที่ใช้ในการวินิจฉัยและประเมินระดับความรุนแรงของโรคภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) ซึ่งจะมีผลต่อการวางแผนและการตัดสินใจทางเลือกในการรักษา เช่น อาจใช้ในการตั้งค่าความดันลม (Pressure titration) ในกรณีที่รักษาโรคด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (CPAP) เพื่อขยายช่องทางเดินหายใจ หรือการปรับระดับของเครื่องมือในช่องปาก (Oral appliances)


นอกจากนี้ยังใช้พิจารณาเลือกวิธีการผ่าตัดทางเดินหายใจและใช้ติดตามผลการรักษา ตลอดจนช่วยในการวินิจฉัยโรคความผิดปรกติอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการนอนได้อีกด้วย



เมื่อไหร่? จึงควรเข้ารับการตรวจ Sleep Test
  • นอนกรนดังผิดปกติ

  • รู้สึกง่วงตอนกลางวันมากผิดปกติ ทั้งที่ได้นอนอย่างเพียงพอ

  • สะดุ้งตื่น หายใจเหนื่อยตอนกลางคืน สงสัยมีการหยุดหายใจขณะหลับ

  • มีคนสังเกตว่ามีพฤติกรรมผิดปกติขณะนอนหลับ เช่น นอนขากระตุก กัดฟัน ละเมอ หรือฝันร้าย

โดยผู้รับการตรวจควรพบแพทย์เฉพาะทางด้านโรคการนอนหลับโดยตรง หรือแพทย์ที่เกี่ยวข้องเช่น หู คอ จมูก, อายุรแพทย์, หรือกุมารแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านนี้ เพื่อสอบถามประวัติ และตรวจร่างกายอย่างละเอียดก่อนและหลังการตรวจ เพื่อพิจารณาทางเลือกในการตรวจและรักษาแบบต่างๆ


การตรวจสุขภาพการนอนหลับ หรือ sleep test (บางครั้งเรียกว่า sleep study หรือ polysomnography) สามารถแบ่งออกได้ เป็น 4 ระดับ ตามความละเอียดของข้อมูลที่ตรวจ โดยใช้ตามนิยามของสมาคมเวชศาสตร์การนอนหลับของสหรัฐอเมริกา (American Academy of Sleep Medicine หรือ AASM)

ระดับที่ 1 การตรวจสุขภาพการนอนแบบสมบูรณ์โดยมีเจ้าหน้าที่เฝ้าตลอดคืน (Comprehensive technician-attended polysomnography) การตรวจแบบนี้จะประกอบด้วย การวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ลูกตา ใต้คาง และขา คลื่นไฟฟ้า หัวใจ การตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือด การตรวจวัดลมหายใจ เป็นอย่างน้อย โดยอาจทำภายในห้องตรวจเฉพาะของสถานพยาบาล หรือนอกสถานที่ แต่มีเจ้าหน้าที่เฝ้าสังเกตอาการตลอดทั้งคืนที่ตรวจ

ระดับที่ 2 การตรวจสุขภาพการนอนหลับแบบสมบูรณ์ โดยไม่มีเจ้าหน้าที่เผ้าตลอดทั้งคืน(Comprehensive-unattended portable polysomnography) การตรวจวิธีนี้อาจตรวจตามบ้าน ในห้องนอนของผู้รับการตรวจเองซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคย หรือ ตามสถานที่พักต่างๆ ทำให้คล้ายกับการนอนในชีวิตประจำวันมากกว่า โดยจะมีเจ้าหน้าที่เข้าไปติดตั้งอุปกรณ์ให้แต่ไม่ได้เฝ้าระหว่างเวลาที่ตรวจ ลักษณะของการตรวจแบบนี้มีส่วนประกอบและข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือได้ใกล้เคียงกับ การตรวจระดับ 1 แต่มีข้อดี เช่น ค่าใช้จ่ายในการตรวจที่ถูกกว่า เนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มในเรื่องค่าห้องของโรงพยาบาลรวมถึง ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทาง นอกจากนี้ยังใช้เวลาในการรอคิวตรวจน้อยกว่า โดยผู้ที่เหมาะสำหรับการตรวจวิธีนี้ ได้แก่ ผู้ที่เคลื่อนไหวและเดินทางไม่สะดวก หรือผู้ที่มีอาการมากและต้องการรักษาอย่างรวดเร็ว แต่ต้องรอคิวตรวจในโรงพยาบาลนานมาก เป็นต้น


ระดับที่ 3 การตรวจสุขภาพการนอนหลับแบบจำกัดข้อมูล (Limited channel portable sleep test) การตรวจนี้ จะมีเพียงการตรวจ ลมหายใจ การเคลื่อนไหวของหน้าอกและท้อง การวัดระดับออกซิเจนในเลือด การวัดระดับเสียงกรน บางครั้งรวมคลื่นหัวใจร่วมด้วย หรือการตรวจการนอนหลับจากระบบหลอดเลือดและประสาทอัตโนมัติ เป็นต้น การตรวจแบบนี้อาจมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าระดับ 1 และ 2 อย่างไรก็ตาม ผลการตรวจมักได้ค่าความรุนแรงต่ำกว่าความเป็นจริง เนื่องจากไม่ได้วัดคลื่นสมอง จึงไม่สามารถประเมิน ประสิทธิภาพในการนอน รวมระยะความลึกของการนอน ทำให้ผลตรวจมีความแม่นยำน้อยกว่า


ระดับที่ 4 การตรวจระดับออกซิเจนในเลือด และหรือ วัดลมหายใจขณะหลับ (Single or dual channel portable sleep test) เป็นการตรวจเพียงบางส่วน และได้ข้อมูลไม่เกิน 3 อย่างเท่านั้น จึงเลือกใช้เฉพาะกรณีที่ไม่สามารถตรวจในแบบต่างๆ ที่กล้าวมาแล้วได้เท่านั้น เนื่องจากข้อมูลที่ตรวจได้มักจะไม่มีความน่าเชื่อถือมากพอที่จะนำมาใช้ยืนยันการวินิจฉัยภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับได้


ขั้นตอนการตรวจเช็กการนอนหลับ Sleep Test

  1. ทำการตรวจในช่วงเวลากลางคืน

  2. มีการติดอุปกรณ์ที่ใช้ติดตามการเปลี่ยนแปลงของร่างกายระหว่างการตรวจ

  3. ในระหว่างการตรวจจะมีการบันทึกวีดีโอ เพื่อลังเกตท่าทางการนอน และความผิดปกติทางพฤติกรรมที่อาจเกิดขึ้นขณะหลับ

  4. ในห้องควบคุมจะมีคอมพิวเตอร์รับสัญญาณที่ส่งมาจากผู้ป่วย เช่น คลื่นสมอง การหายใจ ค่าอกซิเจนในเลือด เป็นต้น รวมถึงภาพวีดีโอซึ่งเจ้าหน้าที่จะค่อยควบคุมการบันทึกให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย ข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งต่อให้แพทย์เพื่อใช้ในการแปลผล

  5. การทดสอบนี้เป็นเพียงการรับสัญญาณตามธรรมชาติในร่างกายของมนุษย์ เช่น คลื่นสมอง การหายใจเช้า - ออก การกลอกตาขณะหลับ การเคลื่อนไหวของทรวงอกและหน้าท้อง เสียงกรน ท่านอน แรงดึงตัวของกล้ามเนื้อ คลื่นฟฟ้าหัวใจและระดับออกชิเจน หรือคาร์บอนไดออกไขด์ในเลือด

  6. การติดอุปกรณ์เพื่อรับสัญญาณฟฟ้า จะเป็นเพียงแค่การใช้สายโลหะสัมผัสและยึดติดกับบริเวณผิวหนังในบริวณต่างๆของร่างกายด้วยพลาสเตอร์จะไม่มีการเจาะหรือฝังอุปกรณีใด ๆ เข้าร่างกาย และจะไม่มีการส่งสัญญาณไฟฟ้าหรือคลื่นใดๆเข้าร่างกาย

  7. ในผู้ป่วยบางรายที่เจ้าหน้าที่ตรวจพบว่ามีการหยุดหายใจขณะหลับ เนื่องจากทางเดินหายใจส่วนต้นยุบตัวรุนแรง เจ้าหน้าที่จะเข้าไปปลุกเพื่อสวมหน้ากากที่ต่อกับอุปกรณ์สร้างแรงดันบวก CPAP (ซีแผบ) เพื่อหาแรงดันที่เหมาะสม

ปัญหาการนอนหลับไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ควรปรึกษากับแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทางเพื่อหาสาเหตุและรักษาได้อย่างตรงจุดและทำให้คุณได้กลับมานอนหลับอย่างมีคุณภาพอีกครั้ง

 

ผู้สนใจเข้ารับการตรวจควรปรึกษาแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับโดยเฉพาะ

เพื่อประเมินแนวทางการตรวจ Sleep test ที่เหมาะสมกับตัวเอง



เมื่อสงสัยว่าเรานอนกรนอาจมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

Century Care Center ให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาการนอนกรน

บริการตรวจการนอนหลับให้คุณได้นอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก


 

"คลินิกกายภาพเซ็นจูรี่แคร์ พร้อมดูแลด้วยจุดมุ่งหมายให้ผู้เข้ารับบริการกลับไปใช้ชีวิตให้ใกล้เคียงปกติให้ได้มากที่สุด"

Century Care Center ยินดีให้คำปรึกษา

โทร : 095-713-2222

การเดินทาง : https://goo.gl/maps/hb2a7MTEPeEaDTpTA

Comments


bottom of page