เครื่อง TMS/PMS คืออะไร ?
เครื่องกระตุ้นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า Transcranial magnetic stimulation (TMS) หรือ Peripheral magnetic stimulation (PMS) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คล้ายกับเครื่อง MRI เป็นคลื่นแม่เหล็กที่สามารถทะลุผ่านอวัยวะต่าง ๆ เข้าไปได้ลึกประมาณ 1-3 เซนติเมตร เพี่อเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ โดยไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่ออวัยวะโดยรอบ
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต หลายราย มักจะมีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันที่ขยับร่างกายไม่ได้ครึ่งซีก มีปัญหาด้านการพูด และการกลืนอาหาร ในผู้ป่วยกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาใช้งานได้ดีเหมือนเดิม ซึ่งเมื่อก่อนอาศัยเพียงการทำกายภาพบำบัดเท่านั้น
แต่ปัจจุบันทีมแพทย์และนักวิจัยจากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ศึกษาและพัฒนาใช้คลื่นแม่เหล็กส่งผ่านเข้าไปยังสมองเพื่อช่วยปรับการทำงานฟื้นฟูของสมองที่บกพร่องให้คงที่ โดยไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย ยิ่งทำควบคู่กับกายภาพบำบัด จะช่วยผู้ป่วยให้ฟื้นฟูได้ดีขึ้นมากกว่า 50-60%
โรคและภาวะใดบ้างที่สามารถใช้เทคโนโลยี TMS/PMS ร่วมรักษาได้
โรคหลอดเลือดสมอง หรือ อัมพาตครึ่งซีก (Stroke)
ผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บของประสาทไขสันหลัง
ผู้ป่วยภาวะโรคซึมเศร้า (Depression)
ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตเวช (Psychiatry)
โรคสมองเสื่อม (Alzheimer’s disease)
โรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (Myofascial pain syndrome) เช่น Office syndrome, โรคหมอนรองกระดูกสันหลัง เป็นต้น
ข้อจำกัดในการใช้เครื่อง TMS/PMS
ผู้ที่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ฝังในร่างกาย เช่น เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ, เครื่องหูเทียมไฟฟ้าชนิดฝังในตัว, สายระบายน้ำในโพรงสมอง เป็นต้น หรือพื้นที่ในการรักษาในระยะ 30 เซนติเมตร
ผู้ที่มีโลหะบริเวณศีรษะ เช่น ตะแกรงขยายหลอดเลือดสมอง, คลิปหนีบเส้นเลือดโป่งพองในสมอง, ฟันปลอม (บางชนิด) เป็นต้น
ผู้ที่มีโลหะบริเวณแขนและขาข้างที่อ่อนแรง (อาจจะปรึกษาแพทย์)
ผู้ที่มีประวัติชักหรือภาวะชักที่ไม่สามารถควบคุมได้
ผู้ที่มีอวัยวะเทียมที่เป็นโลหะที่เพิ่งใส่มาไม่นาน
สตรีตั้งครรภ์
เครื่อง TMS/PMS ใช้เวลารักษานานเท่าไหร่ ?
ระยะเวลาในการรักษาต่อครั้งอยู่ที่ 15-60 นาที ความถี่ในการรักษาประมาณ 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์ แล้วแต่อาการและโรคของผู้ป่วยแต่ละราย
เครื่อง TMS/PMS มีผลข้างเคียงหรือไม่ ?
ผู้ป่วยส่วนมากจะไม่พบอาการข้างเคียงภายหลังการรักษา ผลข้างเคียงที่สำคัญแต่พบได้น้อยมาก คือ อาการชัก ซึ่งพบได้ประมาณ 0.02-0.2% ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอ่อนเพลียหรือง่วงนอนภายหลังการกระตุ้น บางรายพบอาการปวดศีรษะหรือระคายเคืองบริเวณที่ถูกกระตุ้นได้เล็กน้อย
การเตรียมตัวเข้ารับการรักษาด้วยเครื่อง TMS/PMS
ไม่ต้องงดน้ำและอาหารในเช้าวันที่มารับการรักษา
นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
ระหว่างทำไม่หลับหรือเครียด
หลังจากเสร็จสิ้นการรักษาควรดื่มน้ำอย่างน้อย 300 มิลลิลิตร
อาการปวดศีรษะหลังทำอาจเกิดได้ในช่วง 1-2 ชั่วโมง หลังทำสามารถทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาได้
"คลินิกกายภาพเซ็นจูรี่แคร์ พร้อมดูแลด้วยจุดมุ่งหมายให้ผู้เข้ารับบริการกลับไปใช้ชีวิตให้ใกล้เคียงปกติให้ได้มากที่สุด"
Century Care Center ยินดีให้คำปรึกษา
โทร : 095-713-2222
Line : @ccnh
Facebook : www.facebook.com/CenturyCareCenter
Instagram : www.instagram.com/centurycare.center
Tiktok : www.tiktok.com/@centurycarecenter
Comments