ภาวะกลืนลำบาก เกิดจากอะไร
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง หลังจากรอดชีวิตจากภาวะ Stroke แล้วมักมีปัญหาตามมาจากการที่สมองขาดเลือดไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านการทรงตัว การเคลื่อนไหว อัมพฤกษ์อัมพาต และมากกว่าครึ่งมักจะประสบปัญหาการกลืนอาหาร ที่เรียกว่า ภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia) ทำให้ความสามารถในการรับประทานอาหารด้วยตนเองลดลง ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและเป็นภาระของครอบครัวที่จะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด
ใครควรได้รับการบำบัดรักษาการกลืน
นอกจากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแล้ว ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลัง ผู้ป่วยโรคมะเร็งในช่องปาก รวมไปถึงผู้สูงอายุก็มีโอกาสพบภาวะกลืนลำบากได้
แพทย์จะทำการประเมินความสามารถในการกลืนอาหาร จากการสังเกตอาการของผู้ป่วย เช่น มีการกลืนช้า มีแรงกลืนที่น้อย แสดงถึงปัญหาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ มีการสำลัก มีเสียงเครือในลำคอระหว่างกลืนอาหารหรือกลืนน้ำ ผู้ป่วยรู้สึกว่าเหมือนมีสิ่งติดค้างในลำคอ มีอาการไอ เสียงแหบ หายใจเร็วขณะรับประทานอาหาร ทำให้ผู้ป่วยเหนื่อย ซึ่งหากแพทย์วินิจฉัยว่าต้องทำการบำบัดรักษาการกลืน ย่อมเป็นการป้องกันปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการสำลักอาหาร ซึ่งเสี่ยงต่ออันตรายถึงชีวิตและลดทอนการฟื้นฟูร่างกายจากโรคต่างๆที่ผู้ป่วยเผชิญอยู่
การบำบัดรักษาการกลืนทำด้วยตนเองได้หรือไม่ ทำอย่างไร
การกลืน (Swallowing) เป็นกระบวนการทำงานของร่างกายที่อาศัยความรู้ความเข้าใจ ว่าอวัยวะในช่องปากของเราถูกสั่งการจากระบบประสาทโดยมีสมองเป็นศูนย์กลางสมองจะควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืน เพื่อนำอาหารเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารในร่างกาย ซึ่งจำเป็นต้องให้ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ช่วยในการกระตุ้นหรือบำบัดรักษาดีกว่าการทำด้วยตนเองในช่วงแรก เพราะเสี่ยงต่อการเกิดการสำลักอาหาร ทำให้เกิดภาวะปอดติดเชื้อได้ หากไม่ระวังอาจนำไปสู่การเกิดผลข้างเคียงมากมาย เมื่ออาการดีขึ้นแล้วให้แพทย์วินิจฉัยต่อไปว่าสามารถดูแลตนเองได้ จากนั้นฟังคำแนะนำจากแพทย์ และดูแลตนเองอย่างถูกวิธี เบื้องต้นมีท่าออกกำลังกายที่สามารถทำเองได้ง่ายๆ ได้แก่
การอ้าปาก-หุบปาก
การฉีกยิ้ม
การทำปากจู๋
การแลบลิ้นเตะมุมปากซ้าย-ขวา
การฝึกออกเสียง อาอีอู ลาลาลา คาคาคา เป็นต้น
ข้อดีของการบำบัดรักษาการกลืนที่ศูนย์กายภาพบำบัด
ที่ศูนย์กายภาพบำบัดจะมีนักกิจกรรมบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญในการฟื้นฟูสมรรถภาพการกลืน ผู้เข้ารับบริการบางรายที่มีปัญหาการกลืนลำบาก อาจจำเป็นต้องให้อาหารทางสายยาง เพื่อป้องกันการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องเข้ารับการบำบัดรักษาจากศูนย์กายภาพบำบัดที่มีความพร้อมทั้งอุปกรณ์ และเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน พร้อมกับทีมแพทย์ นักกิจกรรมบำบัดมืออาชีพ และพยาบาลที่สามารถดูแลได้อย่างใกล้ชิด สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดเหตุการณ์สำลักอาหาร
วิธีการบำบัดรักษาการกลืนให้กลับมากลืนอาหารได้อย่างปกติ
1. แพทย์ รวมไปถึงนักกิจกรรมบำบัดจะออกแบบเมนูอาหารร่วมกับนักโภชนาการประจำศูนย์ เพื่อปรับลักษณะของอาหารและน้ำให้เหมาะสมกับผู้เข้ารับบริการแต่ละคน เพิ่มความข้นหรือเหลวในอาหารเพื่อป้องกันการสำลักอาหาร ดัดแปลงอาหารให้มีกากน้อย ไม่หยาบ ใช้การปั่นอาหารช่วยให้เนื้ออาหารเนียนละเอียดกลืนง่าย มีอุณหภูมิที่เหมาะสมไม่ร้อนจัดหรือเย็นจัดเพื่อป้องกันการสำลักได้ง่าย
2. นักกิจกรรมบำบัดจะช่วยปรับวิธีการกลืนให้เหมาะสมกับปัญหาของผู้เข้ารับบริการแต่ละคน เช่น อาจให้บางคนเอียงคอ หรือหันศีรษะไปด้านใดด้านหนึ่งขณะกลืนเพื่อความปลอดภัย บางรายอาจเน้นให้ออกแรงในการกลืนเต็มที่ และแนะนำให้ไอหลังการกลืนเพื่อไล่เศษอาหารที่อาจตกค้างอยู่ในลำคอ
3. จัดท่าทางที่เหมาะสมให้ผู้เข้ารับบริการขณะรับประทานอาหาร ป้อนอาหารในตำแหน่งที่ต่ำกว่าระดับสายตาผู้เข้ารับบริการ เพื่อให้รับประทานได้ง่ายขึ้น ให้ผู้เข้ารับบริการนั่งตัวตรง หรือปรับหัวเตียงสูงในแนวตั้งฉาก จัดให้ข้อสะโพกและเข่างอให้นั่งสะดวก จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม มีคนดูแลผู้เข้ารับบริการตลอดเวลาไม่ปล่อยให้อยู่ตามลำพัง และหลังรับประทานอาหารมีการจัดท่าให้นั่งศีรษะสูงอย่างน้อย 30 นาที
4. นักกิจกรรมบำบัดจะแนะนำท่าออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อที่ใช้ในการการกลืน เช่น กล้ามเนื้อช่องปาก ลิ้น ขากรรไกรและลำคอ เป็นต้นพร้อมบันทึกและวัดผลเพื่อบำบัดรักษาตามขั้นตอนให้ผู้ป่วยฟื้นฟูได้ดีขึ้น
5. ดูแลความสะอาดของช่องปาก ก่อนและหลังรับประทานอาหารต้องดูแลช่องปากให้สะอาด ขจัดเสมหะหรือเศษอาหารตกค้างในช่องปาก เพื่อสุขลักษณะที่ดี ลดการสะสมของแบคทีเรียในช่องปาก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของปอดติดเชื้อ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการบำบัดรักษาการกลืน
ควรหลีกเลี่ยงการสนทนาระหว่างการฝึกกลืนอาหาร
ไม่ควรเร่งรัดให้รีบกลืนอาหาร
ควรกระตุ้นการหลั่งน้ำลายด้วยอาหารรสเปรี้ยวหรือหวาน
ป้อนอาหารทีละน้อยๆ โดยวางบนลิ้นข้างที่มีแรง
หลีกเลี่ยงการใช้หลอดดูดอาหารและน้ำ
ต้องได้รับการพักผ่อนเพียงพอ สภาพร่างกายพร้อมในการรับประทานอาหาร
ให้ไอหลังการกลืนอาหารเพื่อขจัดเศษอาหารที่อาจติดค้างในลำคอ
การบำบัดรักษาภาวะกลืนลำบากที่ศูนย์เซ็นจูรี่แคร์
ที่ศูนย์กายภาพบำบัดเซ็นจูรี่แคร์ เรามีนักกิจกรรมบำบัดที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญภาวะกลืนลำบาก สามารถดูแลผู้ที่มีความเสี่ยงสูง นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือกระตุ้นการกลืน Silverfit Rephagia ซึ่งมีหลักการทำงานคือมีการวัดคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อขณะที่กล้ามเนื้อทำงาน โดยจะมีการติดเครื่องอิเล็กโทรดและตัวเซ็นเซอร์บริเวณกล้ามเนื้อที่ต้องการฝึก เช่น บริเวณใบหน้าหรือลำคอ จากนั้นให้ผู้เข้ารับบริการสั่งการกล้ามเนื้อให้ทำการตอบสนองอย่างที่ต้องการ เมื่อกล้ามเนื้อทำงานเครื่องจะตรวจจับสัญญาณและแปลผลออกมาเป็นกราฟที่แพทย์สามารถนำมาวินิจฉัยการรักษาได้ นอกจากนี้เครื่องมือนี้ยังสามารถฝึกการกลืนผ่านการเล่นเกมส์ต่างๆ ทำให้ผู้เข้ารับบริการเพลิดเพลินกับเกมส์ เพิ่มแรงจูงใจให้ผู้เข้ารับบริการฝึกการกลืนได้อีกด้วย
สรุป
ภาวะกลืนลำบาก เป็นภาวะที่สร้างความลำบากแก่ผู้ป่วยและครอบครัว เมื่อรับประทานอาหารไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร ผู้ป่วยจะได้รับการฟื้นฟูร่างกายได้ไม่เต็มที่ หากปล่อยให้รับประทานอาหารเอง อาจเสี่ยงอันตราย และหากสำลักอาหารอาจทำให้อาการทรุดลง และทำให้ผู้ป่วยหมดกำลังใจในการรักษาตัว ดังนั้นควรเข้ารับการบำบัดรักษาภายใต้การดูแลของแพทย์และนักกิจกรรมบำบัดมืออาชีพพร้อมเครื่องมือที่ทันสมัย ที่สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการฟื้นฟูให้เร็วหรือดีขึ้นได้ และเพื่อลดความเสี่ยงต่อร่างกายและลดภาระของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วย
"คลินิกกายภาพเซ็นจูรี่แคร์ พร้อมดูแลด้วยจุดมุ่งหมายให้ผู้เข้ารับบริการกลับไปใช้ชีวิตให้ใกล้เคียงปกติให้ได้มากที่สุด"
Century Care Center ยินดีให้คำปรึกษา
โทร : 095-713-2222
Line : @centurycare
Facebook : www.facebook.com/CenturyCareCenter
Instagram : www.instagram.com/centurycare.center
Tiktok : www.tiktok.com/@centurycarecenter
การเดินทาง : https://goo.gl/maps/hb2a7MTEPeEaDTpTA
Comments