ภาวะไขสันหลังบาดเจ็บ(Spinal cord injury:SCI)
ไขสันหลัง
เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทที่เชื่อมมาจากสมอง ไขสันหลังวางตัวอยู่ในช่องกระดูกสันหลังทำหน้าที่เป็นเส้นทางของกระแสประสาท ที่รับคำสั่งจากสมองไปควบคุมส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น การเคลื่อนไหวของแขนขา การรับความรู้สึกจากร่างกาย การควบคุมระบบอัตโนมัติของร่างกาย เช่น การควบคุมการขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
การบาดเจ็บของไขสันหลัง
อาจเกิดจากอุบัติเหตุ เช่น กระดูกสันหลังหัก หรือ อาจเกิดจากโรค เช่น การติดเชื้อในไขสันหลัง, ช่องโพรงกระดูกเสื่อมกดเบียดไขสันหลัง หรือ เนื้องอกที่ไขสันหลัง ส่งผลทำ ให้การทำงานในด้านการเคลื่อนไหว การรับความรู้สึก และการควบคุมระบบอัตโนมัติในร่างกายบกพร่องไป ซึ่งอาจเป็นจะพบอาการบกพร่อง ในบางส่วน (incomplete lesion) หรือมีอาการบกพร่องทั้งหมด (complete lesion) อย่างไรก็ตาม ภายหลังการบาดเจ็บไขสันหลังและได้รับการรักษา อาจพบการฟื้นตัวของ ไขสันหลัง ทำ ให้กำลังกล้ามเนื้อ ความรู้สึก และการควบคุมระบบอัตโนมัติกลับมาทำงาน ได้ในระดับต่างๆ ตั้งแต่มากจนใกล้เคียงปกติ ถึงน้อยหรือเท่าเดิม ทั้งนี้ขึ้นกับพยาธิสภาพ การบาดเจ็บไขสันหลัง และปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องอาศัยเวลา
สามารถแบ่งระดับการบาดเจ็บของไขสันหลังได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ
1.อัมพาตครึ่งล่าง (Paraplegia)
ภาวะขาอ่อนแรงทั้ง 2 ข้างจากการบาดเจ็บของไขสันหลังระดับส่วนอกลงมา
2.อัมพาตแขนและขา (Tetraplegia / Quadriplegia)
ภาวะอ่อนแรงของแขนและขาทั้ง 2 ข้างจากการบาดเจ็บของไขสันหลังระดับส่วนคอลงมา
กายภาพมีส่วนช่วยผู้ป่วยภาวะไขสันหลังบาดเจ็บอย่างไรบ้าง?
1.จัดท่าลดอาการเกร็ง
2.ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรง
3.ฝึกการเคลื่อนย้ายบนเตียง
4.ฝึกการเคลื่อนย้ายตัวด้วยรถเข็น
5.ฝึกยืน
6.ฝึกเดิน
ดังนั้นการทำกายภาพบำบัด จึงมีส่วนสำคัญที่จะช่วยฟื้นฟูให้ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง มีระดับความสามารถไปถึงระดับสูงสุดที่ผู้ป่วยควรทำได้
"คลินิกกายภาพเซ็นจูรี่แคร์ พร้อมดูแลด้วยจุดมุ่งหมายให้ผู้เข้ารับบริการกลับไปใช้ชีวิตให้ใกล้เคียงปกติให้ได้มากที่สุด"
Century Care Center ยินดีให้คำปรึกษา
โทร : 095-713-2222
Line : @centurycare
Facebook : www.facebook.com/CenturyCareCenter
Instagram : www.instagram.com/centurycare.center
Tiktok : www.tiktok.com/@centurycarecenter
การเดินทาง : https://goo.gl/maps/hb2a7MTEPeEaDTpTA
Comments