top of page

การฝึกพูดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

ภาวะบกพร่องทางการสื่อสาร

โดยจะมีพยาธิสภาพในสมองบริเวณที่ควบคุมเรื่องภาษา โดยอาการแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันไปตามแต่ละรูปแบบที่ผิดปกติ ส่วนใหญ่มักเป็นในสมองซีกซ้ายมากกว่าซีกขวา ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านการสื่อสารมักจะประสบปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน ภาวะนี้ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาต่อการพูด การทำความเข้าใจ การอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการรับสาร เช่น พูดได้แค่ประโยคสั้น ๆ หรือพูดไม่จบประโยค ไม่สามารถเรียบเรียงประโยคในการพูดหรือการเขียนให้ผู้ฟังเข้าใจได้ ใช้คำไม่เหมาะสม เลือกใช้คำหนึ่งแทนที่อีกคำ พูดคำที่ไม่มีความหมาย หรือไม่เข้าใจในบทสนทนาของผู้อื่น พูดไม่ได้ เป็นต้น


ปัญหาทางการพูดและการสื่อความหมายที่อาจจะพบได้ในผู้ป่วย

1. ภาวะเสียการสื่อความหมาย ( Aphasia)


• บกพร่องในด้านการพูด(Motor aphasia) ตำแหน่งที่มีปัญหา Broca’s Area – ผู้ป่วยจะพูดลำบาก หรือ พูดไม่ได้เลย แต่จะฟังเข้าใจ

• บกพร่องในด้านความเข้าใจ(Sensory aphasia) ตำแหน่งที่มีปัญหา Wennicke’s Area – ผู้ป่วยจะฟังผู้อื่นไม่เข้าใจ แต่สามารถพูดได้ปกติ

• มีปัญหา 2 อย่างร่วมกัน(Global aphasia) ตำแหน่งที่มีปัญหา Arcuate fasciculus - ผู้ป่วยจะฟังไม่รู้เรื่องและพูดลำบาก


2. อาการพูดไม่ชัด(Dysarthria) – เกิดจากปัญหาที่กล้ามเนื้อที่ใช้ในการพูด ทำให้ผู้ป่วยพูดไม่ชัด พูดช้า พูดเบา


สาเหตุของการสื่อสารผิดปกติ

- โรคหลอดเลือดสมอง

- อุบัติเหตุทางสมอง

- เนื้องอกในสมอง

- ติดเชื้อในสมอง


การฝึกพูดเบื้องต้นผู้ที่มีอวัยวะที่ใช้ในการพูดอ่อนแรง

1. นวดกระตุ้นกล้ามเนื้อปาก-ลิ้น

2. ฝึกเป่าปาก

2.1 เป่าลมออกจากปากให้ยาวที่สุด

2.2 เป่ากระดาษทิชชู่

3.ฝึกบริหารริมฝีปาก

3.1 อ้าปาก – ปิดปาก

3.2 ห่อปาก – ยิงฟัน

3.3เป๊าะปาก

3.4 อมลมแก้มป่องซ้าย – ขวา

4.ฝึกบริหารลิ้น

4.1 แลบลิ้นยาว

4.2 แลบลิ้นเข้า – ออก

4.3 ลิ้นแตะมุมปากซ้าย – ขวา

4.4 ลิ้นดันกระพุงแก้มซ้าย – ขวา

4.5 ลิ้นแตะหลังฟันบน - ล่าง

5.ฝึกออกเสียง

5.1 ออกเสียง อา-อี-อู

5.2 ออกเสียง ปา-ปา-ปา


การฝึกพูดเบื้องต้นผู้ที่มีปัญหาในการนึกคำพูดรวมทั้งปัญหาฟังเข้าใจคำพูด

1.การฝึกนึกคำพูด

1.1ร้องเพลงที่คุ้นเคย, นับเลข1-100, ท่องวัน

1.2ฝึกเรียกสิ่งของในชีวิตประจำวัน เช่น ปากกา ดินสอ ยางลบ โต๊ะ เก้าอี้

1.3ฝึกตอบคำถาม เช่น ให้บอกชื่อตัวเอง, บอกชื่ออาหาร

2.การฝึกฟังเข้าใจคำพูด

พูดคุยถามตอบเรื่องง่ายโดยให้ตอบ(ใช่/ไม่ใช่) - ที่นี่เป็นบ้านใช่หรือไม่


ดังนั้นนักกิจกรรมบำบัดจึงมีส่วนช่วยในการฟื้นฟูความบกพร่องทางด้านการสื่อสาร เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด


 

"คลินิกกายภาพเซ็นจูรี่แคร์ พร้อมดูแลด้วยจุดมุ่งหมายให้ผู้เข้ารับบริการกลับไปใช้ชีวิตให้ใกล้เคียงปกติให้ได้มากที่สุด"

Century Care Center ยินดีให้คำปรึกษา


โทร : 095-713-2222

การเดินทาง : https://goo.gl/maps/hb2a7MTEPeEaDTpTA

コメント


bottom of page