top of page

ค่า K (โพแทสเซียม) กับโรคไต

ในผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง มีการจากัดปริมาณโพแทสเซียม 2,000-3,000 มก./วัน

ระดับโพแทสเซียมในเลือดควร น้อยกว่า 5 mEq/L

 

ถ้าระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงมากเกินไปอาจจะทาให้หัวใจเต้นผิดปกติหรือหยุดเต้นได้

ดังนั้น ในผู้ที่มีไตเสื่อมระยะ 4-5 หรือระดับโพแทสเซียมสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหาร ที่มีโพแทสเซียมสูง

ปริมาณโพแทสเซียมในผักและผลไม้

น้อยกว่า 100 มิลลิกรัม (ปริมาณต่า)

เห็ดหูหนู บวบเหลี่ยม ถั่วพู หอมหัวใหญ่ ผักกาดแก้ว แอปเปิ้ล สาลี่ สับปะรด ชมพู่เขียว เงาะ มังคุด

 

100-250 มิลลิกรัม(ปริมาณปานกลาง)

เห็ดนางฟ้า แตงกวา ฟักเขียว พริกฝรั่ง ผักบุ้งจีน มะเขือยาว มะละกอดิบ หัวผักกาดขาว พริกหยวก ผักกาดขาวชนิดห่อ สตรอว์เบอร์รี มะม่วงสุก ลิ้นจี่ ละมุด องุ่นเขียว

 

มากกว่า 250 มิลลิกรัม ขึ้นไป(ปริมาณสูง)

หัวปลี ผักชี ต้นกระเทียม โหระพา หน่อไม้ฝรั่ง หอมแดง มะเขือเปราะ ผักกวางตุ้ง เห็ดฟาง ผักบุ้งไทย มะเขือเทศ มะเขือพวง แครอท ฟักทอง บร็อกโคลี่ หน่อไม้ฝรั่ง ปวยเล้ง ยอดแค ใบขี้เหล็ก มะระจีน ลาไย กล้วยหอม มะละกอสุก ทุเรียน น้อยหน่า ขนุน ลูกเกด ลูกพรุน ลูกพลับ กล้วยตาก ส้ม แก้วมังกร น้ำมะพร้าว น้ำผลไม้

 

เมื่อใดที่ผลเลือดมี ระดับโพแทสเซียม มากกว่ากว่า 5 mEq/L

แสดงว่าไตเริ่มทางานไม่ไหวแล้ว ต้องช่วยให้ไตเราทางานน้อยลง โดยการปรับพฤติกรรมการกิน


ปรับวิธีกิน

- ลดการรับประทานผักที่มี K สูง

- ทานผักสุก เลี่ยงผักสด

- เลือกทานผักสีอ่อน งดผักสีเข้ม

- งดเครื่องดิ่มบรรจุกระป๋องหรือกล่อง

- งดน้าคั้น น้าปั่นจากผลไม้และผัก

เปลี่ยนวิธีการปรุง

หั่นผักเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนาไปต้มในน้าเดือดให้นานขึ้น ช่วยลดปริมาณ K ในอาหารได้

สรุป

โพแทสเซียมในเลือดสูงกว่า 5.2 มิลลิโมลต่อลิตรนั้นถือว่ามีภาวะ Hyperkalemia

ลักษณะและความรุนแรงของอาการ Hyperkalemia ขึ้นอยู่ กับปริมาณโพแทสเซียมในเลือด หากมีระดับไม่สูงมากอาจไม่ก่อให้เกิด อาการผิดปกติหรือมีอาการไม่รุนแรง เช่น

• อ่อนเพลีย

• คลื่นไส้

• กล้ามเนื้ออ่อนแรง

• เป็นเหน็บชาตามร่างกาย

• หัวใจเต้นช้า

• ชีพจรเต้นเบากว่าปกติ

• รวมถึงภาวะที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต อย่างหัวใจเต้นผิดจังหวะและหัวใจหยุดเต้น ในกรณีที่ผู้ป่วยมีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงมาก

Comments


bottom of page