top of page

นอนกรน | เพราะเหนื่อยจริงหรอ ?

อัปเดตเมื่อ 29 พ.ค. 2566



หากมีความเหนื่อยล้ามาก ก็เกิดภาวะนอนกรนได้ คุณเคยคิดแบบนี้หรือป่าว เวลาที่หาสาเหตุของการนอนกรนโดยคนรอบตัวบอกคุณมาในระหว่างที่นอนด้วยกันว่า “กรนเสียงดัง”

เราอาจเคยได้ยินคนพูดต่อ ๆ กันมาว่า ที่นอนกรนก็เพราะเหนื่อย ที่นอนกรนก็เพราะตอนกลางวันทำงานหนักมากไป หรือบางคนเชื่อว่าที่นอนกรนก็เพราะอ้วน ความเชื่อเหล่านี้ไม่ถูกต้องเสมอไป


การกรนขณะที่เรากำลังหลับอาจเป็นเรื่องที่ไม่ดีนักต่อสุขภาพ “เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าจะมีเรื่องเลวร้ายอะไรเกิดขึ้นบ้าง ไม่ว่าจะเป็น ลดความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด หรือการนอนกรนเป็นเวลาหลายชั่วโมง ก็อาจนำไปสู่ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ และเสียชีวิตตามมา


อาการกรนเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย ทุกอายุ เราคงเคยเห็นภาพเด็กอนุบาลนอนกรนเสียงดังครอกๆ หรือแม้แต่คุณตาคุณยายที่อายุมากแล้วก็นอนกรนเช่นกัน อาการนอนกรนเกิดขึ้นเมื่อคนนอนหลับสนิทแล้วกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ในระบบทางเดินหายใจเช่น จมูก ช่องคอ โคนลิ้นและกล่องเสียงหย่อนตัวลง ทำให้ทางเดินหายใจส่วนต้นตีบแคบ จนเกิดเสียงดังหรือที่เราเรียกว่าเสียงกรนได้


คนเราเมื่อนอนหลับ กล้ามเนื้อต่าง ๆ จะมีการหย่อนตัวหรือคลายตัวลง ซึ่งอวัยวะในช่องทางเดินหายใจของเรา เช่น เพดานอ่อน หรือโคนลิ้น ก็จะหย่อนลงมาทำให้ทางเดินหายใจตีบแคบลงได้ โดยเฉพาะเวลาที่เรานอนหงาย ทีนี้ พอช่องทางเดินหายใจมันแคบลง เวลาเราหายใจเอาอากาศเข้ามา ลมที่ผ่านช่องที่แคบนี้ ก็จะทำให้กล้ามเนื้อดังกล่าวเกิดการกระพือ (คล้าย ๆ กับเวลาที่ลมเป่าลมผ่านหลอดเล็ก ๆ )เมื่อกล้ามเนื้อเกิดการกระพือ หรือสั่นสะเทือน ก็จะเกิดเป็นเสียงกรนขึ้น และนี่ก็คือสาเหตุของการนอนกรนนั่นเอง


‘กรน’ ใครคิดว่าไม่สำคัญ?

อาการตีบแคบของทางเดินหายใจมีได้มากน้อยแตกต่างกันไปแล้วแต่บุคคล บางคนการตีบแคบมากจนถึงกับทำให้หยุดหายใจได้เป็นช่วง ๆ หรือที่เรียกกันว่า ‘ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ’ (Sleep Apnea) ได้ ซึ่งกรณีนี้จะมีอันตรายกับสภาวะสุขภาพโดยรวมมาก สังเกตเห็นได้ง่าย ๆ คือ คนที่เป็นโรคนี้จะหลับและนอนกรนติดต่อกันอยู่พักหนึ่ง แล้วจะหยุดหายใจนิ่งไป ก่อนจะมีอาการเฮือกแล้วสะดุ้งตื่นขึ้นมา และนอนหลับต่อไปได้ พอหลับครั้งที่สองสักพักก็นอนกรนและหยุดหายใจจนตื่นขึ้นมาอีก เป็นวงจรแบบนี้สลับกันไป ส่งผลให้ตื่นนอนมาตอนเช้าแล้วรู้สึกไม่สดชื่น ปวดหัว ง่วงนอนทั้งวัน พร้อมจะหลับได้ตลอดเวลา ถ้าภาวะนี้เกิดกับเด็ก ๆ จะส่งผลให้พัฒนาการทางร่างกายและสติปัญญาช้ากว่าเด็กปกติ นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดการปัสสาวะรดที่นอน พฤติกรรมก้าวร้าวซุกซน สมาธิสั้น และผลการเรียนแย่ลงได้


"การนอน" เป็นหนึ่งในกิจวัตรที่สำคัญ แต่หลายครั้งถูกละเลยทั้งที่คนเราใช้เวลาถึง 1 ใน 3 ของชีวิตไปกับการนอน อาจเพราะด้วยไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป ไม่เพียงก่อให้เกิดสิ่งเร้ารอบตัวมากมายที่พร้อมเบียดเบียนเวลานอนให้น้อยลงไป แต่ปัญหาใหญ่ที่สุดคือ หลายคนไม่รู้เท่าทันสุขภาพการนอนของตัวเอง จึงไม่รู้ตัวด้วยซํ้าว่าสัญญาณผิดปกติ เช่น นอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ ลมชัก หรือง่วงนอนผิดปกติ ที่ร่างกายส่งออกมานั้น ไม่ใช่เรื่องขำขัน แต่เป็นการบอกให้รู้ว่าร่างกายของคุณกำลังมีปัญหา และต้องการการรักษาปัจจุบัน คนไข้ที่มีปัญหาด้านการนอนหลับ (Sleep Disorders) มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยปัญหายอดฮิตยังหนีไม่พ้นปัญหา “นอนกรน” ซึ่งหลายครั้งถูกมองว่าเป็นเรื่องขำ ๆ ที่เพียงสร้างความรำคาญให้คนข้างกาย แต่ความจริงแล้ว อานุภาพของการนอนกรนร้ายแรงกว่าที่คิด โดยเฉพาะหากมีภาวะหยุดหายใจร่วมด้วย อาจส่งผลให้

  • ระดับออกซิเจนในเลือดตํ่าลง

  • สมองเกิดการตื่นตัว หลับไม่สนิท

  • ความสามารถในการหลับลึกน้อยลง

  • อาจมีส่วนทำให้เพิ่มโอกาสการเกิดฝันร้ายในบางคน

  • กระทบต่อกระบวนการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ความสามารถในการจดจำ


ถามว่าใครบ้างคือ กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
แนะนำหลักการง่าย ๆ ในการประเมินที่เรียกว่า STOP-BANG ประกอบด้วย
  • S Snoring นอนกรนหรือไม่

  • T Tired เหนื่อยเพลีย ง่วงในเวลากลางวันหรือไม่

  • O Observed เคยมีอาการหยุดหายใจ

  • P Pressure ความดันสูงหรือไม่

  • B BMI ดัชนีมวลกายมากกว่า 35 kg/m2

  • A Age อายุมากกว่า 50 ปี

  • N Neck เส้นรอบวงของคอมากกว่า 40 เซนติเมตร

  • G Gender ผู้ชายมีความเสี่ยงสูงกว่าผู้หญิง

ถ้าหากประเมินคร่าว ๆ จากสูตรนี้แล้ว ใครที่เข้าข่าย 3 ใน 8 ข้อขึ้นไป ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ยิ่งมีหลายข้อยิ่งมีโอกาสเป็นรุนแรงมากขึ้น จึงแนะนำให้มารับการตรวจวินิจฉัยด้วยการตรวจการนอนหลับ เพื่อรีบทำการรักษาการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) เพื่อแยกว่าเป็นนอนกรนประเภทใดและสามารถบอกความรุนแรงของโรคได้ว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับมากหรือน้อยเพียงใด เพื่อช่วยให้แพทย์วางแผนการรักษาได้ดีขึ้น

 

ผู้สนใจเข้ารับการตรวจควรปรึกษาแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับโดยเฉพาะ

เพื่อประเมินแนวทางการตรวจ Sleep test ที่เหมาะสมกับตัวเอง



เมื่อสงสัยว่าเรานอนกรนอาจมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

Century Care Center ให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาการนอนกรน

บริการตรวจการนอนหลับให้คุณได้นอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก


 

"คลินิกกายภาพเซ็นจูรี่แคร์ พร้อมดูแลด้วยจุดมุ่งหมายให้ผู้เข้ารับบริการกลับไปใช้ชีวิตให้ใกล้เคียงปกติให้ได้มากที่สุด"

Century Care Center ยินดีให้คำปรึกษา

โทร : 095-713-2222

การเดินทาง : https://goo.gl/maps/hb2a7MTEPeEaDTpTA

Comments


bottom of page