ในสังคมไทยในปัจจุบันและอนาคตหลายบ้านมักมีสมาชิกเป็นผู้สูงอายุ มีคุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย ท่านมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายที่พบบ่อยมักเกิดจากการพลัดตกหกล้มและจากการใช้เครื่องมือต่างๆ เพราะปัญหาการเสื่อมถอยของร่างกายอาการของโรคประจำตัวความสามารถในการทรงตัว การถดถอยของกล้ามเนื้อและกระดูก การมองเห็นและการได้ยินที่ลดลง อันเป็นสาเหตุที่ทำให้ท่านเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย และสถานที่ที่มักพบการเกิดอุบัติเหตุ การพลัดตกหกล้มบ่อยๆคือ ห้องน้ำ เพราะมีการเปียกชื้นแคบ เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ จึงควรการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม มีข้อแนะนำอย่างง่ายๆดังนี้
ความกว้าง ควรกว้างอย่างน้อย 1.5 x 2 เมตร เพื่อให้มีความกว้างพอให้รถเข็นกลับตัวได้สะดวก แต่ไม่ความกว้างจนเกินไป และภายในควรมีพื้นที่ให้มีระยะพอให้รถเข็นหมุนกลับตัวได้ จัดวางของเป็นระเบียบ ไม่กีดขวาง
ประตู ไม่ควรมีธรณีประตู ควรกว้างอย่างน้อย 90 เซนติเมตร เพื่อให้รถเข็นเข้าได้สะดวก ใช้เป็นบานเลื่อนหรือบานเปิดออก เพราะหากเกิดอุบัติเหตุจะช่วยเหลือได้ง่าย เช่น คุณตา คุณยายล้มขวางประตู จะสามารถเข้าไปช่วยโดยไม่ชนให้ได้รับบาดเจ็บเพิ่ม ประตูไม่ควรใช้เป็นลูกบิดเพราะต้องออกแรงในการจับมาก แนะนำเป็นแบบก้านโยกจะทำให้ใช้งานง่ายขึ้น
พื้น ไม่ควรทำต่างระดับ เพื่อป้องกันการสะดุดล้ม แยกส่วนแห้งและเปียก พื้นไม่มันวาว ไม่ลื่นหรืออาจใช้แผ่นกันลื่นปูเพิ่มเพื่อป้องกันการลื่นล้ม
อุปกรณ์อาบน้ำ ควรเลือกใช้งานง่าย ขนาดกะทัดรัด สุขภัณฑ์ต่างๆ ไม่ควรใช้สีทึบ เพราะสายตาของคุณตา คุณยายฝ้าฟาง
เก้าอี้นั่งอาบน้ำ ควรมีเสริมเพราะคุณตา คุณยายไม่สามารถยืนได้นานๆ ควรเลือกแบบขาฝืด มีราวจับด้านข้างหรือมีพนักพิงเพื่อป้องกันหงายหลัง เป็นอุปกรณ์ที่ควรมีติดไว้ในห้องน้ำ
ฝักบัว ควรใช้ที่แรงดันต่ำหรือปรับระดับได้ ที่เปิด ปิดเป็นแบบก้านโยก
สายฉีดชำระ ควรติดตั้งด้านข้าง ป้องกันคุณตา คุณยายต้องเอียงตัวไปด้านข้าง อาจเกิดอุบัติเหตุได้
อ่างล้างหน้าและพื้นที่อ่าง ควรใช้แบบมุมมน ไม่แหลมคม อ่างล้างหน้าควรให้รถเข็นเข้าถึงได้ ไม่มีที่ตั้งอ่าง เป็นแบบติดผนังและควรมีราวจับข้างอ่าง
ชักโครก ไม่ควรใช้แบบนั่งยอง ควรใช้เป็นชักโครกและติดตั้งราวจับบริเวณด้านข้างเพื่อใช้ในการทรงตัว เวลาลุกขึ้น
ความสูงของอุปกรณ์ต่างๆ ความสูงในการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆต้องคำนึงถึงการยืนและการใช้รถเข็นของคุณตา คุณยาย รวมถึงโถสุขภัณฑ์ แนะนำให้สูงจากพื้นประมาณ 45 เซนติเมตร ควรติดตั้งราวจับความสูงประมาณ 80-90 เซนติเมตร ตั้งแต่ทางเข้า ไปจนโถส้วมและจุดอาบน้ำ ต้องมีความแข็งแรงและรองรับน้ำหนักตัวของคุณตา คุณยายได้เวลาเกาะหรือเหนี่ยวตัวลุกยืน
สัญญาณฉุกเฉิน หากเป็นไปได้ควรมีติดไว้ตามจุดสำคัญที่มีโอการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เช่น ในห้องน้ำ บริเวณที่อาบน้ำ ใกล้โถสุขภัณฑ์
จุดที่ติดตั้งควรมองเห็นง่ายและแจ้งให้คุณตา คุณยายทราบว่าท่านจะขอความช่วยเหลือได้อย่างไร และควรมีการทดสอบเป็นระยะ
คิดว่าการปรับห้องน้ำเพื่อคุณตา คุณยายไม่ได้ยากเลยใช่ไหมคะ เพียงแต่ต้องคำนึงถึงรายละเอียดรอบคอบ โดยดูจากกิจวัตรประจำวันของท่าน และเพิ่มงบประมาณในการปรับแต่คุ้มค่าที่แน่นอน เพื่อความปลอดภัยของผู้สูงอายุที่เรารักนะคะ
ขอขอบคุณ ข้อมูลดีๆ จาก บทความคลังความรู้ กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
"คลินิกกายภาพเซ็นจูรี่แคร์ พร้อมดูแลด้วยจุดมุ่งหมายให้ผู้เข้ารับบริการกลับไปใช้ชีวิตให้ใกล้เคียงปกติให้ได้มากที่สุด"
Century Care Center ยินดีให้คำปรึกษา
โทร : 095-713-2222
Line : @centurycare
Facebook : www.facebook.com/CenturyCareCenter
Instagram : www.instagram.com/centurycare.center
Tiktok : www.tiktok.com/@centurycarecenter
การเดินทาง : https://goo.gl/maps/hb2a7MTEPeEaDTpTA
Comments