top of page

อาหารสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาการเคี้ยว

เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายมากมาย โดยส่วนมากมักเป็นความเสื่อมถอยของระบบการทำงานในร่างกาย ผู้สูงอายุมีความเสื่อมสภาพของร่างกายก็เพิ่มขึ้น เนื้อเยื่อช่องปากและฟันจะเริ่ม เสื่อมลง ฟันสึกได้ง่าย บดเคี้ยวอาหารไม่ได้ และมีปัญหาในการเคี้ยวยากขึ้น ทำให้ ผู้สูงอายุไม่อยากกินอาหารที่ต้องเคี้ยว เช่น เนื้อสัตว์ ผักหรือผลไม้เนื้อแข็ง รวมถึง การรับกลิ่นรสอาหารลดลง ความเสื่อมของปุ่มรับรสที่ลิ้นและจำนวนปุ่มรับรสมีน้อยลง ไม่รับรู้ถึงรสชาติอาหารที่ตนเองรับประทาน ผู้สูงอายุมีกลไกระบบประสาท และระบบ กล้ามเนื้อที่ควบคุมการกลืน ทำงานได้น้อยลง ทำให้การไหลผ่านของอาหารจากลำคอ สู่กระเพาะอาหารช้าลง กลืนอาหารลำบาก ล้วนเป็นสาเหตุให้ผู้สูงอายุไม่อยากกินและ ไม่อยากเคี้ยวอาหาร ทำให้กินอาหารได้น้อยลง จึงได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ร่วมกับ ระบบการย่อยและดูดซึมสารอาหารที่ด้อยประสิทธิภาพลง การเปลี่ยนแปลงร่างกายของ ผู้สูงอายุนี้อาจนำไปสู่ภาวะขาดสารอาหารได้ ซึ่งเนื้อหาในตำรับอาหารผู้สูงอายุมีปัญหาการเคี้ยว จะมีตำรับอาหารที่มีสารอาหาร ต่างๆที่มีความจำเป็น และอาหารที่ง่ายต่อการเคี้ยวและการย่อย เพื่อใช้ในการช่วย เตรียมอาหารสำหรับผู้สูงอายุให้เป็น


ปัญหาการเคี้ยวในผู้สูงอายุ

สาเหตุหลักที่ทำให้เคี้ยวไม่ได้คือ

1. ไม่มีฟัน หรือมีจำนวนฟันและคู่สบไม่เพียงพอ (มีฟันน้อยกว่า 20 ซี่ หรือ มีฟันหลังที่สบกันซ้าย-ขวา รวมกันน้อยกว่า 4 คู่) ส่วนใหญ่เกิดจากการถูกถอนฟันจากโรคในช่องปากที่เป็นแล้วไม่ได้รักษา เช่น โรคฟันผุ/รากฟันผุโรคปริทันต์อักเสบรุนแรงหรือรำมะนาด ทำให้มีอาการปวด บวม อักเสบจนไม่สามารถเก็บฟันไว้ได้ ส่งผลให้มีปัญหาการเคี้ยวอาหารที่มีลักษณะแข็งเหนียว เช่น เนื้อสัตว์ผักต่างๆ

2. ฟันสึก ถ้าสึกมากจนเสียรูปร่างเดิมของฟัน ด้านบดเคี้ยว แบนเรียบ ทำให้รู้สึกว่าเคี้ยวอาหารไม่ขาด เคี้ยวได้ไม่ละเอียด หรือมีอาหารติดบริเวณหลุมร่องที่สึกด้านบดเคี้ยว อาจมีอาการเสียวฟัน ถ้าฟันหลังสึกจนเตี้ยลงกว่าเดิมมาก อาจทำให้ขากรรไกรบน-ล่างขยับชิดกัน คางดูสั้นลง มุมปากพับเกิดแผลมุมปากได้ง่าย

3. กรณีสูญเสียฟัน และจำเป็นต้องใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ ฟันเทียมต้องอยู่ในสภาพดีและแน่น การใส่ฟันเทียมที่ไม่พอดีเคี้ยวเจ็บ หรือหลวมส่งผลให้เคี้ยวอาหารได้ไม่ถนัด อาจทำให้เป็นบาดแผลจากการเสียดสีทำให้กินอาหารไม่อร่อยได้

4. เจ็บข้อต่อขากรรไกร ส่วนใหญ่มักมีสาเหตุจากความเครียดของกล้ามเนื้อจากการทำงานที่มากเกินไป หรือใช้ผิดประเภท เช่น เคี้ยวข้างเดียว เคี้ยวของแข็งมีการสบฟันที่ผิดปกติทำให้ปวดมีและมีการอ่อนล้าของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคี้ยว


ผลกระทบจากการสูญเสียฟันของผู้สูงอายุ

การดูแลฟันได้ไม่ดีพอ จะเกิดภาวะสูญเสียฟันในวัยสูงอายุตามมา ส่งผลให้

• เคี้ยวอาหารบางประเภทไม่ได้ โดยเฉพาะอาหารที่มีลักษณะเหนียว แข็ง เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้เป็นต้น

• เคี้ยวอาหารได้ยากลำบาก บางคนใช้ฟันที่เหลืออยู่เคี้ยวอาหารให้อ่อนลง และใช้เหงือกบดอาหารต่อ

• หลีกเลี่ยงการทานอาหารบางชนิด ทำให้ได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอกับ ความต้องการเกิดภาวะขาดสารอาหารในที่สุด



เทคนิคและหลักการจัดอาหารสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาการเคี้ยว

- หั่นหรือสับอาหารที่แข็งและเหนียว เป็นชิ้นลูกเต๋าเล็กๆ แล่ให้เป็นชิ้นบางๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ โดยเลือกเน้นเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่ายและโปรตีน คุณภาพดีเช่น ปลา ไข่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เต้าหู้ในการปรุงประกอบอาหาร

- นำวัตถุดิบมาผ่านวิธีการต้ม ตุ๋น ลวก นึ่ง ก่อนนำไปปรุงอาหาร โดยเฉพาะผักและถั่วเมล็ดแห้ง เพื่อให้มีความอ่อนนุ่ม และสะดวกในการเคี้ยวมาก ยิ่งขึ้น

- เน้นใช้เครื่องเทศหรือสมุนไพรต่างๆ มา ปรุงเป็นเมนู ใช้ขิง ข่า กระชาย ในการปรุงอาหาร เช่น ไก่ผัดขิง ผัดฉ่า ซึ่งเครื่องเทศเหล่านี้ จะกระตุ้นความอยากอาหารได้ดี

- เน้นจัดอาหารที่มีสีสัน น่า รับประทาน ไม่จำเจ และเป็นอาหารอ่อน ชิ้นเล็ก เคี้ยวง่าย


อาหารสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาการเคี้ยว

ซุปฟักทอง

ส่วนผสม (สำหรับ 1 คน)

ฟักทองนึ่งบดละเอียด 120 กรัม

นมสดพร่องมันเนย 1 กล่อง (220 มิลลิลิตร)

พริกไทยป่น 1/4 ช้อนชา

เกลือ 1/4 ช้อนชา

วิธีทำ

1. นำฟักทองนึ่งบดละเอียด ผสมนมสด ตั้งไฟเคี่ยวจนเดือด ต้องคนบ่อยๆ ปรุงรส ด้วยพริกไทยป่น และเกลือ


ไข่ตุ๋นทรงเครื่อง

ส่วนผสม (สำหรับ 1 คน)

ไข่ไก่ 1 ฟอง

ฟักทอง หั่นเต๋าเล็กๆ 2 ช้อนชา

แครอท หั่นเต๋าเล็กๆ 2 ช้อนชา

หมูสับ 2 ช้อนชา

ตับบด 2 ช้อนชา

น้ำเปล่า 4 ช้อนโต๊ะ

ซีิอิ๊วขาว 2 ช้อนชา

ต้นหอมซอย 1 ต้น (5 กรัม)

วิธีทำ

1.ตีไข่ขาวพอเข้ากัน ผสมหมูสับ ตับบด น้ำเปล่า นำไปนึ่ง 5 นาที จากนั้น

ใส่ฟักทอง แครอท นึ่งต่อไป 10 นาทีจนสุก โรยหน้าด้วยต้นหอมซอย


ฟักตุ๋นสามสหาย

ส่วนผสม (สำหรับ 1 คน)

ฟักเขียว 120 กรัม

หมูสับ 90 กรัม

พริกไทยป่น 1/4 ช้อนชา (1 กรัม)

ซีอิ๊วขาว 3 ช้อนชา (15 กรัม)

แครอท 40 กรัม

ฟักทอง 40 กรัม

ต้นหอม 20 กรัม

น้ำเปล่า 2-3 ถ้วย

วิธีทำ

1. หั่นฟักเขียว ฟักทอง และแครอท เป็นชิ้นพอคำ

2. หมูสับผสมกับพริกไทยป่น ซีอิ๊วขาวเล็กน้อย ปั้นเป็นชิ้นพอคำ ต้มในน้ำเดือด ใส่ฟักเขียวแครอท ฟักทอง ต้มจนเปื่อยสุกปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว


แกงจืดเต้าหู้ไข่-หมูสับ

ส่วนผสม (สำหรับ 2 คน)

หมูสับ 90 กรัม

รากผักชี 2 กรัม

กระเทียม 3 กลีบ 6 กรัม

พริกไทยป่น เล็กน้อย

ผักกาดขาว 80 กรัม

เต้าหู้ไข่ 220 กรัม

ซีอิ๊วขาว 3 ช้อนชา

ต้นหอม 2 ต้น 15 กรัม

วิธีทำ

1. โขลกรากผักชี พริกไทย กระเทียม ผสมลงในหมูสับ ปั้นเป็นก้อนเล็กๆ

ต้มจนสุก หลังจากนั้นใส่ผักกาดขาวและต้นหอม


บวดฟักทองนมสด

ส่วนผสม (สำหรับ 2-3 คน)

ฟักทอง 200 กรัม

นมสด 250 กรัม

น้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ

เกลือ เล็กน้อย

วิธีทำ

1. ฟักทองหั่นชิ้นขนาดพอคำ แล้วนำไปต้มจนสุก

2. นำนมสดตั้งไฟพอเดือด ใส่น้ำตาล และฟักทอง แล้วโรยเกลือเล็กน้อย


วุ้นนมสด

ส่วนผสม (สำหรับ 2-3 คน)

ผงวุ้น 5 กรัม

น้ำตาลทราย 50 กรัม

นมสด 250 กรัม

น้ำ 100 กรัม

วิธีทำ

1. เทน้ำลงในหม้อ ตามด้วยผงวุ้น ต้มจนละลาย ใส่น้ำตาลทราย คนส่วนผสมให้ เข้ากัน ต้มจนเดือดอีกประมาณ 15 นาที

2. ค่อยๆ เติมนมลงไป คนต่อประมาณ 2-3 นาทีปิดไฟ พอวุ้นอุ่น เทลงในพิมพ์ นำไปแช่ตู้เย็น ประมาณ 3 ชั่วโมง พอรุ่นเซตตัวดีแล้ว แกะออกจากพิมพ์


ข้าวต้มปลา

ส่วนผสม (สำหรับ 1 คน)

ข้าวสุก 120 กรัม (2 ทัพพี)

เนื้อปลากระพง 50 กรัม

ใบขึ้นฉ่าย เล็กน้อย

ต้นหอม 3 กรัม (1 ต้น)

ซีอิ๊วขาว 2 ช้อนชา

พริกไทยขาวป่น เล็กน้อย

วิธีทำ

1.ต้มปลานิลกับน้ำ 2 ถ้วย จนสุก ตักข้าวสุกใส่ชาม ตักน้ำกับเนื้อปลา ราดบนข้าว สุกที่ตักใส่ชามไว้โรยหน้าด้วยต้นหอม ใบขึ้นฉ่าย และพริกไทยป่น


สรุป

ปัญหาสุขภาพช่องปากและฟัน เป็นปัญหาหลักที่สำคัญ ปัญหาหนึ่งที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เพราะเมื่ออายุมากขึ้น ความเสื่อมสภาพของร่างกายก็เพิ่มขึ้น เนื้อเยื่อช่องปากและ ฟันจะเริ่มเสื่อมลง การสะสมแคลเซียมที่กระดูกและฟันลดลง ส่งผลให้โอกาสที่ฟันจะผุกร่อน ฟันสึกได้ง่าย บดเคี้ยวอาหาร ไม่ได้และมีปัญหาในการเคี้ยวยากขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุไม่อยาก กินอาหารที่ต้องเคี้ยว เช่น เนื้อสัตว์ผักหรือผลไม้เนื้อแข็ง รวมถึงการรับกลิ่นรสอาหาร ลดลง ความเสื่อมของปุ่มรับรสที่ลิ้นและจำนวนปุ่มรับรสมีน้อยลง ไม่รับรู้ถึงรสชาติอาหาร ที่ตนเองกิน ล้วนเป็นสาเหตุให้ผู้สูงอายุไม่อยากกินและไม่อยากเคี้ยวอาหาร ทำให้กิน อาหารได้น้อยลง จึงได้รับสารอาหารไม่เพียงพอร่วมกับระบบการย่อยและดูดซึมสารอาหาร ที่ด้อยประสิทธิภาพลง การเปลี่ยนแปลงร่างกายของผู้สูงอายุนี้อาจนำไปสู่ภาวะขาดสาร อาหารได้นอกจากนี้การที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ต้องรับประทาน ยาเป็นประจำ ก็มีผลโดยตรงต่อสุขภาพช่องปาก อาจทำให้ช่องปากแห้ง แสบและ ฟันผุง่าย ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันที่พบบ่อยในผู้สูงอาย

ดังนั้น ผู้สูงอายุ ควรจะหมั่นดูแลรักษาช่อง ปากให้ดีอยู่เสมอ พบทันตแพทย์ทุก 6-12 เดือนเพื่อ ให้มีสุขภาพช่องปากที่ดีมีฟันที่บดเคี้ยวได้ไม่น้อยกว่า 20 ซี่ จะทำให้อยู่ได้อย่างมีสุขภาวะ และช่วยให้ สามารถเคี้ยวอาหารได้ตามปกติและเพื่อป้องกันภาวะ ขาดสารอาหารได้

นอกจากนี้จะต้องคำนึงถึงการปรับรสชาติอาหารให้ถูกปากผู้สูงอายุนอกเหนือ จากการปรับเนื้อสัมผัสที่เหมาะสมและง่ายต่อการเคี้ยวของผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุ กินอาหารได้มากขึ้น ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีของผู้สูงอายุอีกด้วย


 

"คลินิกกายภาพเซ็นจูรี่แคร์ พร้อมดูแลด้วยจุดมุ่งหมายให้ผู้เข้ารับบริการกลับไปใช้ชีวิตให้ใกล้เคียงปกติให้ได้มากที่สุด"

Century Care Center ยินดีให้คำปรึกษา


โทร : 095-713-2222

การเดินทาง : https://goo.gl/maps/hb2a7MTEPeEaDTpTA

Comments


bottom of page