top of page

โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง หรือ Myofascial pain syndrome (MFP)


ปวดคอและหลัง

Myofascial pain syndrome (MFP) เป็นอาการปวดตามกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย มักปวดเป็นบริเวณกว้างโดยที่ผู้ป่วยไม่สามารถระบุตำแหน่งที่ปวดได้ชัดเจน ลักษณะที่สำคัญของ MFP คือ จะต้องมีจุดกดเจ็บ หรือที่เราเรียกกันว่า trigger point (TP) เมื่อกดจะมีอาการปวดมากหรือกดสะดุ้ง (jump sign) และปวดอาการร้าวไปตามแนวของอาการปวด (referred pain) ของกล้ามเนื้อมัดนั้นๆ

               Trigger Point (TP) หรือจุดกดเจ็บอยู่ในกล้ามเนื้อและเยื่อพังพืด (hyperirritability) เกิดจากการหดเกร็ง สะสมของกล้ามเนื้อ จนเป็นก้อนเล็กๆ ขนาด 0.5-1 ซม. TP เกิดจากกล้ามเนื้อขาดเลือดและออกซิเจนเข้าไปเลี้ยง จนทำให้เกิดการอักเสบและเกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อ อาการเริ่มต้นก่อนจะเกิดเป็น TP คนไข้จะมีอาการปวดเฉพาะจุด โดยกดลงไปจะมีอาการปวดอยู่กับที่หรือแค่ตรงบริเวณที่กด โดยไม่มีอาการร้าวไปตามแนวของอาการปวด (referred pain) ของกล้ามเนื้อมัดนั้นๆ เราเรียกจุดกดเจ็บนี้ว่า Tenderness หากยังบ่อยทิ้งไว้ ไม่ทำการรักษา ก็จะกลายเป็น TP ในที่สุด

Trigger point


แนวของอาการปวด (referred pain) ของกล้ามเนื้อแต่ละมัด

สาเหตุ/ปัจจัยส่งเสริมที่ทาให้เกิดอาการ MFP

· ได้รับการบาดเจ็บโดยตรง (direct trauma) ที่กล้ามเนื้อมัดนั้นๆ

· การอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสมมาเป็นระยะเวลานานๆ (poor postural) ก็ทำให้กล้ามเนื้อเกิด

การบาดเจ็บสะสม หรือเกิด muscles imbalance เช่น forward head, rounded shoulders, thoracic kyphosis, decrease/increase spinal curvature เป็นต้น

· มีความผิดปกติของโครงสร้าง (abnormal structural) เช่น ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน (length

discrepancy), flat/high foot, กระดูกสันหลังคด (scoliosis) เป็นต้น

· ลักษณะงาน (occupational) หรือท่าทางในการทางาน โดยเฉพาะงานที่ต้องทำซ้ำๆ

(overuse/ repetitive stresss) จนเกิดการบาดเจ็บ เช่น excessive computer use, poor

workstation ergonomics, awkward / prolonged work

· ภาวะทางจิตใจและอารมณ์ (Emotional) เช่น ความเครียด วิตกกังวล บุคคลที่เป็น

personality หรือ perfectionist

· อยู่ในท่านอนไม่เหมาะสม หรือนอนหลับไม่เพียงพอ

·  มีปัญหาจากการขาดวิตามินบางชนิด เช่น Vitamin B1, B6, B12, C, D, E, Magnesium,

Potassium, Calcium, Iron หรือสารอาหารบางอย่าง หรือฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง

  

การรักษาทางกายภาพบำบัด

1. การรักษาด้วยคลื่นเสียง (Ultrasound Therapy)

2. การรักษาด้วยการประคบความร้อนตื้น (Hot pack)

3. การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical Stimulation)

4. การรักษาด้วยเลเซอร์ (LASER)

5. การยืดกล้ามเนื้อ (Stretching muscle)

6. การรักษาด้วยการนวดกดจุด (Deep friction massage)

7. การปรับท่าทางและออกกำลังกายที่เหมาะสม (Correct Posture and Exercise)

                 โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังสามารถเกิดได้ในทุกเพศและทุกวัย ขึ้นอยู่กับการใช้งานกล้ามเนื้อและการอยู่ในท่าเดิม ๆเป็นเวลานาน และปัจจัยต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น เพราะฉะนั้น หากเริ่มมีอาการปวดควรรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะจะทำให้อาการปวดลดลงเร็วขึ้น คุณภาพชีวิตเราดีขึ้น และไม่อยู่กับความเจ็บปวดกันนะครับ


 

"คลินิกกายภาพเซ็นจูรี่แคร์ พร้อมดูแลด้วยจุดมุ่งหมายให้ผู้เข้ารับบริการกลับไปใช้ชีวิตให้ใกล้เคียงปกติให้ได้มากที่สุด"

Century Care Center ยินดีให้คำปรึกษา



โทร : 095-713-2222

Line : @centurycare

การเดินทาง :https://goo.gl/maps/hb2a7MTEPeEaDTpTA

Комментарии


bottom of page