top of page

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated nucleus pulposus)


                  ประชากรมากถึง 80% ที่มีประสบการณ์จากอาการปวดหลังส่วนล่าง (Low back pain)  เป็นสาเหตุของการหยุดงานและความวิตกกังวลแก่ผู้ป่วย ซึ่งหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่าง คือ โรคเกี่ยวกับหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนล่างซึ่งมีด้วยกันหลายปัญหา เช่น จากภาวะ ความเสื่อม, หมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้น เป็นต้น และอาจนำมาสู่ภาวะทุพพลภาพได้ หมอนรองกระดูกสันหลัง ระดับ L4-L5, L5-S1 เป็นตำแหน่งที่พบได้บ่อยที่สุด

สาเหตุที่เกิด

• หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้น

• การก้มยกของหนักด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้องซ้ำๆ เป็นระยะเวลานาน

•  น้ำหนักตัวที่มากเกินไป

•  การนั่งทำงานด้วยอิริยาบถที่ไม่ถูกต้อง

•  อุบัติเหตุและการบาดเจ็บต่อกระดูกสันหลัง

•  ท่าทางบางท่าหรือบางกิจกรรม ที่มีแรงกระทำต่อหมอนรองกระดูกสันหลัง

อาการและอาการแสดง

• ปวดหลังส่วนล่าง

• อาการชาร้าวลงก้น สะโพกหรือรยางค์ขาร่วมด้วย

• อาการชาหรือการรับรู้ความรู้สึกผิดปกติไป (pin & needle / numbness)

• สะโพกเอียง (lateral shift) เพื่อเลี่ยงอาการปวด

• มีอาการอ่อนแรงของขาจนทำให้มีอาการขาอ่อน เดินกระเผลก หรือเดินไม่ได้ตามปกติ

• อาการจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อไอ จาม กลั้นหายใจ หรือเมื่อมีการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง

โดยเฉพาะท่าก้ม/หมุนตัว

• ตอนเช้าตื่นนอนจะมีอาการเพิ่มมากขึ้น

• เมื่อนอนอาการจะดีขึ้น โดยเฉพาะท่านอนคว่ำ

• ถ้ามีอาการรุนแรงจะควบคุมการขับถ่าย ปัสสาวะ และอุจจาระลำบาก

การรักษาทางกายภาพบำบัด

•  อัลตราซาวน์ (Ultrasound)

•  วางแผ่นร้อน (Hot pack)

•  การดึงหลัง (Lumbar traction)

•  การขยับข้อต่อ (Mobilization)

•  การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า ((Electrical Stimulation)

•  นวดคลายกล้ามเนื้อ (Massage)

•  การยืดกล้ามเนื้อ (Stretching)

•  การออกกำลังกาย (Exercise)

•  การใส่ที่รัดเอว (Lumbar support)


ท่าออกกำลังกายเพื่อลดอาการปวดหลังร้าวลงขา (Mckenzie exercise)

ท่าที่ 1

ท่าเริ่มต้น : นอนคว่ำ

ท่าออกกำลังกาย : เริ่มจากเลื่อนข้อศอกทั้งสองข้างมาตั้งฉากแนบลำตัว จากนั้นพยายามออกแรงกดลงที่ข้อศอกทั้ง

สองข้างพร้อมกับค่อยๆดันตัวขึ้นเท่าที่ไม่เพิ่มอาการปวด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณหลังสบายๆ แล้วค่อยๆกลับสู่

ท่าเริ่มต้น ดังรูป

จำนวนครั้งที่ทำ : ทำ 10 ครั้ง/รอบ , 3 รอบ/วัน , ทำทุกวัน


ท่าที่ 2

ท่าเริ่มต้น : นอนคว่ำ

ท่าออกกำลังกาย : เริ่มจากเลื่อนข้อศอกทั้งสองข้างมาตั้งฉากแนบลำตัว จากนั้นพยายามออกแรงกดลงที่มือทั้งสอง

ข้าง พร้อมกับค่อยๆดันตัวขึ้น เหยียดศอกตรงทั้งสองข้าง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณหลังสบายๆ แล้วค่อยๆกลับสู่

ท่าเริ่มต้น ดังรูป

จำนวนครั้งที่ทำ : ทำ 10 ครั้ง/รอบ , 3 รอบ/วัน , ทำทุกวัน

ท่าที่ 3

ท่าเริ่มต้น : ท่ายืน กางขาทั้งสองข้างกว้างเท่าระดับไหล่

ท่าออกกำลังกาย : เริ่มจากเลื่อนมือมาวางไว้บริเวณสะโพกทั้งสองข้าง จากนั้นค่อยๆออกแรงดันสะโพกไปทางด้าน

หน้า ระหว่างทำให้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณหลังสบายๆ แล้วค่อยๆกลับสู่ท่าเริ่มต้น ดังรูป   

จำนวนครั้งที่ทำ : ทำ 10 ครั้ง/รอบ , 3 รอบ/วัน , ทำทุกวัน


Comments


bottom of page